วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

Modified ROM สำหรับ Android ด้วยตัวคุณเอง

การ Mo Rom ใช้เองมี 2 วิธีนะครับ 

1. คือเอา Rom ตั้งต้น เช่น Official Rom มา Customize สิ่งที่เราต้องการเข้าไป วิธีนี้จะทำได้ง่าย กับ
2. การเอา Source Code ของ Android มา Compile ใหม่ แล้วใส่สิ่งที่เราต้องการเข้าไป วิธีนี้ค่อนข้างยาก เพราะต้องมี Driver และมี Skill Programming พอสมควร 

ก็จะพูดถึงเฉพาะวิธีที่ 1 นะครับ คือการ Customize Rom โดยเอา Official Rom มาตบแต่ง

สิ่งที่ต้องการ

1. Official Rom Version ที่เราชอบ หรือ Version ล่าสุด
2. เตรียม Content ที่เราต้องการ Customize เช่นภาพ Boot Animation, ไฟล์เสียงของระบบ, รายละเอียดของไฟล์ Rom ที่เรา Mo ขึ้นมา, และโปรแกรมเสริมที่เราอยากใส่เข้าไปใน Rom

เมื่อเตรียมการเรียบร้อยแล้วก่อนเริ่ม Customize Rom เรามาทำความรู้จัก โครงสร้างของ Rom กันคร่าว ๆ ก่อนครับ จะได้แก้ไขกันถูกต้องครับ

แตก zip ไฟล์ rom ที่เรา download มาก่อน เพื่อให้ง่ายตอนแก้ไข และเมื่อแก้ไข rom เสร็จแล้วให้เอาไฟล์ที่ทำเสร็จแล้ว จับไปใส่ในไฟล์ zip เดิมครับ ไม่ควรสร้างไฟล์ zip ใหม่นะครับ 

- รายละเอียดของ Rom เช่น Release, Date Create มีชื่อไฟล์ว่า "build.prop" สถานที่เก็บอยู่ที่ "\system" ครับ สามารถใช้ Text Editor เช่น Edit Plus เข้าไปแก้ไขได้เลยครับ เช่นอยากเปลี่ยนชื่อรุ่นจาก i858 เป็น Winning หรืออะไรก็ได้ครับ เมื่อแก้เสร็จแล้วให้จับไปใส่ใน zip ตัวเดิมครับ

- font ของระบบ สำหรับคนที่เบื่อ font เดิมแล้วอยากแก้นะครับ สามารถเอา font ใหม่มา replace ได้ครับ สถานที่เก็บอยู่ที่ "\system\fonts" ครับ 

- โปรแกรมที่มากับตัว Rom เราสามารถลบออก หรือเพิ่มเติมได้ โดยเข้าไปที่ "\system\app" ครับ
+ กรณีเพิ่มโปรแกรม ให้เอาโปรแกรมไปใส่เพิ่มใน Folder  "\system\app" ในไฟล์ zip ของตัว rom เดิมที่เรา download มาได้เลยครับ
+ กรณีต้องการลบโปรแกรม ออกจาก rom ให้เปิดไฟล์ zip ด้วย WinRar แล้วไปที่ Folder "\system\app" แล้วกดปุ่ม delete เพื่อลบทิ้งครับ โปรแกรมที่ลบได้อย่างปลอดภัยเช่น hiMsn, YouTube เป็นต้น ระวังอย่าไปลบไฟล์ระบบเข้านะครับ การลบไฟล์ระบบจะทำให้เครื่อง Brick ครับ ตัวอย่างไฟล์ระบบ เช่น Launcher4 ซึ่งเป็นตัวเก็บ WallPaper ใน Rom เป็นต้น

- bootanimation ตอนเปิดเครื่อง สามารถแก้ไขได้ โดยให้ไปแก้ไฟล์ชื่อ bootanimation.zip ซึ่งเก็บอยู่ที่ folder "\system\media\" เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว (ต้องแก้ไขทุกรูป) ให้โยนกลับไปในไฟล์ zip ของ rom ที่ดาวน์โหลดมา

- การแก้ไขไฟล์เสียง ของเครื่อง สามารถแก้ไขได้โดยไปที่ folder "\system\media\audio\" ซึ่งจะพบ folder ย่อย 4 folder คือ
+ alarms เก็บเสียงนาฬิกาปลุก ถ้าอยากแก้ ก็สามารถใช้โปรแกรม sound editor มาแก้ไฟล์เหล่านี้ได้ หรือจะ convert mp3 ไปเป็น ogg แล้วตั้งชื่อให้เหมือนกันก็ได้
+ notifications เก็บเสียงเตือน เช่น เสียงชักดาบ ที่ชาว 858 คุ้นเคยกันดี ถ้าอยากแก้ มาแก้ได้ที่ folder "\system\media\audio\notifications" 
+ ringtones เก็บ default ring tone ของเครื่องครับ สามารถเอาไฟล์ true tone ที่เป็น format ogg มาใส่ในนี้ได้ครับ
+ ui เก็บเสียงของระบบ เช่น เสียงตอนคลิกหน้าจอ, เสียงตอนถ่ายรูป, เสียงตอนถ่าย vdo 

- Library ของตัวเครื่อง อยู่ที่ folder "\system\lib" ครับ ถ้าอยากเพิ่ม Library สามารถนำไฟล์ .so เข้ามาใส่ได้ในนี้ แต่เท่าที่ผมทดลองเอา Library ของ Flash กับ Library VDO ของเครื่องอื่น ๆ มาใส่แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จครับ คือโปรแกรมมันไม่รู้จัก Library ที่เพิ่มเข้ามา ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ FrameWork คนละตัว หรือจำเป็นต้อง Compile Program ใหม่กันแน่ ถ้าท่านใดลองแล้วประสบความสำเร็จ บอกกันด้วยนะครับ

คำถามต่อมาคือ การ modify rom เราสามารถใส่โปรแกรมได้มากน้อยแค่ไหน มีข้อจำกัดหรือไม่

บอกไว้ก่อนเลยนะครับว่า เราจะ modify rom โดยเพิ่มโปรแกรมได้ อย่างมากที่สุดไม่เกินกว่าขนาด partition ที่ถูกแบ่งไว้แล้วเท่านั้นครับ โดย Partition ที่ถูกแบ่งไว้โดย imobile มีดังนี้ครับ

/system มีขนาด 122880 K โดยปรกติแล้วตัว Official Rom จะใช้ไปแล้วประมาณ 100 กว่า MB โปรแกรมที่เอามาใส่ไม่ควรใหญ่เกินกว่า 700 KB เพราะจะเกิดปัญหา App Close และเมื่อใส่โปรแกรมเสร็จแล้ว ต้องมีพื้นที่เหลือให้กับ partition /system อย่างน้อย 5 - 10 MB เพื่อรองรับการ Update โปรแกรมในอนาคตด้วยครับ

/data มีขนาด 305024 K และมีพื้นที่เหลือประมาณ 286 MB ตามปรกติแล้วในการ Customize Rom จะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับ Folder นี้ซักเท่าใดนัก Folder นี้ก็คือ พื้นที่ Hard Disk นั่นเองครับ Partition นี้จะถูกใช้งานหลังจากที่ Boot เข้าสู่ระบบแล้ว โปรแกรมที่ติดตั้งโดย User จะถูกเก็บไว้ที่ Partition /data/app ครับ

ปล. การทำ Rom เองมีความเสี่ยงที่จะทำให้เครื่อง Brick ได้ต้องระวังนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น